“ทวารบาล . . . ผู้รักษาประตู”

“ทวารบาล . . . ผู้รักษาประตู”



              ศาสนสถานถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้สร้างจึงต้องมีการรักษาสถานที่แห่งนั้นไว้ ไม่ให้มีอันตราย หรือสิ่งชั่วร้ายเข้ามากล้ำกรายได้ อันเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อในการสร้างเทพารักษ์คุ้มครองสถานที่ศักดิ์สิทธ์เหล่านั้นแทนการใช้ทหาร หรือคนมาอารักขา โดยสิ่งที่ใช้เป็นผู้รักษาก็คือ “ทวารบาล”


ประเทศต่าง ๆ ที่มีการก่อสร้างศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากอินเดียนั้น นอกจากความเชื่อเรื่องนาคที่ปรากฏให้เห็นเป็นอย่างมากแล้ว ยังมีเรื่องทวารบาลที่ปรากฏให้เห็นอย่างหลากลายเช่นกัน มักจะพบเห็นหน้าทางเข้าในเกือบทุกศาสนสถานอีกด้วย โดยจะเป็นประติมากรรมคู่ประกบด้านข้างทั้งซ้ายขวาของประตู และมีการตกแต่งที่เหมือนกัน

(ที่มารูปภาพ : https://farm6.static.flickr.com/5566/31406621150_e570800854_b.jpg)


              ทวารบาลนั้นเป็นงานประติมากรรมชั้นรองของศาสนสถานที่นิยมสร้างไว้บริเวณหน้าทางเข้า ทวารบาล มีความหมายว่า “ผู้รักษาประตู” โดยทวารบาลเป็นคติความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่เชื่อว่าทวารบาลนั้นจะช่วยปกปักษ์ คุ้มครอง ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ล่วงล้ำเข้ามาสู่ศาสนสถานได้ ดังนั้นรูปลักษณ์ของทวารบาลจึงต้องมีความน่าเกรงขามต่อผู้ที่พบเห็น ในบางครั้งอาจมีตัวสูงใหญ่ และถืออาวุธ โดยทวารบาลนี้อาจกำหนดให้เป็นรูปของเทพ มนุษย์ ยักษ์ หรือสัตว์หิมพานต์ก็ได้ แล้วแต่ผู้สร้างศาสนสถานแห่งนั้น ๆ


              ความเชื่อเรื่องผู้รักษาประตูนั้น ในบางครั้งคนที่ไม่เชื่ออาจฟังว่าดูงมงาย หรือไร้สาระก็เป็นไปได้ แต่เมื่อวิเคราะห์ความเป็นจริงแล้วอาจเป็นคติจากคนสมัยก่อนในเรื่องการให้ความสำคัญ และการดูแลรักษาต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ เพื่อให้สถานที่เหล่านี้คงอยู่สืบไปไม่ให้มีผู้คิดมาทำลาย ดังนั้นการสร้างทวารบาลอาจเป็นอุบายในการรักษาศาสนสถานนั่นเอง



(ที่มารูปภาพ : http://www.yogyakartatours.com/plaosan-templetempleslocated/)




ที่มา

ปัทมา สาคร. (2553). ทวารบาลแบบไทยประเพณีในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2553). ทวารบาล. ค้นหาเมื่อ 24 ตุลาคม 2560 จาก www.royin.go.th/?knowledges=ทวารบาล-๒๒-มกราคม-๒๕๕๓.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“พีระมิดเกาะแกร์ . . . พีระมิดยักษ์กลางพงไพร”

“ปราสาทนาคพัน กับตำนานม้าวิเศษ”