บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2017

“ทวารบาล . . . ผู้รักษาประตู”

รูปภาพ
“ทวารบาล . . . ผู้รักษาประตู”               ศาสนสถานถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้สร้างจึงต้องมีการรักษาสถานที่แห่งนั้นไว้ ไม่ให้มีอันตราย หรือสิ่งชั่วร้ายเข้ามากล้ำกรายได้ อันเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อในการสร้างเทพารักษ์คุ้มครองสถานที่ศักดิ์สิทธ์เหล่านั้นแทนการใช้ทหาร หรือคนมาอารักขา โดยสิ่งที่ใช้เป็นผู้รักษาก็คือ “ทวารบาล” ประเทศต่าง ๆ ที่มีการก่อสร้างศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากอินเดียนั้น นอกจากความเชื่อเรื่องนาคที่ปรากฏให้เห็นเป็นอย่างมากแล้ว ยังมีเรื่องทวารบาลที่ปรากฏให้เห็นอย่างหลากลายเช่นกัน มักจะพบเห็นหน้าทางเข้าในเกือบทุกศาสนสถานอีกด้วย โดยจะเป็นประติมากรรมคู่ประกบด้านข้างทั้งซ้ายขวาของประตู และมีการตกแต่งที่เหมือนกัน ( ที่มารูปภาพ :  https://farm6.static.flickr.com /5566/31406621150_e570800854_b.jpg)               ทวารบาลนั้นเป็นงานประติมากรรมชั้นรองของศาสนสถานที่นิยมสร้างไว้บริเวณหน้าทางเข้า ทวารบาล มีความหมายว่า “ผู้รักษาประตู” โดยทวารบาลเป็นคติความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่เชื่อว่าทวารบาลนั้นจะช่วยปกปักษ์ คุ้มค

“รอยยิ้มปริศนา ณ บายน”

รูปภาพ
“รอยยิ้มปริศนา ณ บายน”               ปราสาทในศิลปะเขมรที่พรั่งพร้อมด้วยความงามและความพิศวงนั้นมีด้วยกันหลายแห่ง แต่ปราสาทที่ถูกกล่าวถึงจากรูปสลักใบหน้าประดับด้วยรอยยิ้มที่เป็นปริศนา จนก่อให้เกิดงานเขียนทางวิชาการอย่างมากมายถึงปริศนาของรอยยิ้มนั้นจะมีสักกี่ที่กัน รอยยิ้มที่ถูกขนานนามว่า “ยิ้มแบบบายน” อันมีต้นกำเนิดมาจาก “ปราสาทบายน” (ที่มารูปภาพ : g othailandgoasean.tourismthailand.org/th/ปราสาทบายน-ศิลปะขอมโบราณ-เชื่อมั่นในความสุข/) ปราสาทบายน ณ นครธม สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่กลางเมืองพระนคร เป็นโบราณสถานแห่งเดียวของเขมรที่ไม่มีกำแพงล้อมรอบ คาดว่าอาจใช้กำแพงเมืองพระนครหลวงล้อมรอบแทน บายนเป็นปราสาทที่มีผังการก่อสร้างที่ชวนสับสน มึนงง และชวนให้อึดอัดไม่น้อย อันเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขผังทางสถาปัตยกรรมหลายครั้งระหว่างการก่อสร้าง ทำให้ผังปราสาทไร้ระเบียบแบบแผน และปราสาททุกหลังมีหน้า 4 หน้าขนาดใหญ่สลักอยู่บนยอด เสน่ห์ของภาพใบหน้าที่ประดับด้วยรอยยิ้มบนยอดปราสาทบายนนั้นมักจะเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาของผู้คนที่สุดเม

“หน้ากาล . . . สัญลักษณ์แห่งเวลาและการกลืนกิน”

รูปภาพ
“หน้ากาล . . . สัญลักษณ์แห่งเวลาและการกลืนกิน” หลายครั้งที่ได้ยลความงามของปราสาทแบบศิลปะเขมร เรามักจะพบภาพสลักบนประตูหลายแห่งเล่าเรื่องราวของเทพเจ้าตามความเชื่อของที่นั้น ๆ หลายร้อยเรื่องตามตำนานความเชื่อเหล่านั้นได้สลักลงบนแผ่นหินอย่างงดงามและประณีต จนแสดงให้เห็นถึงโลกคติแสนวิเศษตามความเชื่อที่เหนือธรรมชาติ ซึ่งหนึ่งในหลายร้อยเรื่องเหล่านั้นนับว่ามีเรื่องน่าสนใจไม่น้อย แต่หากพูดถึงสัญลักษณ์ของเวลาก็คงไม้พ้น “หน้ากาล” หน้ากาล (Kala) มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์ หรือใบหน้าอสูรที่มีความดุร้าย ตากลมโปน อ้าปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้าง ศีรษะสวมเครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นกระบังหน้า หน้ากาลเป็นสัตว์อสูรในป่าหิมพานต์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู เป็นสัญลักษณ์ของ “เวลา” และ “ความตาย” ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวล จึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง (ที่มารูปภาพ : https://enthusiastical.wordpress.com/category/banteay-srei/  ) หน้ากาลเป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับหน้าบันบนซุ้มประตูของโบราณสถาน โดยมักจะปรากฏพระศิวะ (ผู้ทำลาย) อยู่ตรงกล

“ปราสาทนาคพัน กับตำนานม้าวิเศษ”

รูปภาพ
“ ปราสาทนาคพัน กับตำนานม้าวิเศษ ”               หนึ่งในสิ่งจำแลงจากสถานที่ในจินตนาการแห่งความเชื่อทางศาสนา และตำนานที่ถูกเล่าขาน สถานที่ซึ่งอุดมด้วยสีสันจากศิลา พืชพรรณแห่งการเยียวยา และสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่หลั่งไหลทั้งสี่ทิศ ที่แห่งนี้คือหนึ่งในความงามของศิลปะเขมรในยุคโบราณ “ปราสาทนาคพัน”   (ที่มารูปภาพ : http://www.6gms.com/tour-cambodia.php) ปราสาทนาคพัน เป็นปราสาทที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งที่ 4 ทางเหนือของพระนครหลวง เพื่อใช้เป็นแหล่งรักษาโรค ชำระบาป และกระทำพิธีราชาภิเษก มีความกว้าง 984 หลา และยาว 3,827 หลา นาคพันนี้ประกอบด้วยสระกว้าง ตรงกลางสระยอดปราสาทตั้งตระหง่านขึ้นมาจากฐานทรงกลมคือนาคพัน โดยเชื่อว่านาคพันนี้ถูกสร้างขึ้นแบบพุทธผสมผสานกับพราหมณ์ ที่มาของชื่อปราสาทนาคพันนั้น มาจากการที่มีนาคศิลา 2 ตนขดเป็นวงล้อมรอบฐานปราสาท ซึ่งสถาปัตยกรรมของนาคพันนี้ถูกจำลองให้เป็น “สระอนวตัปตา” (Anavatapta) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สระอโนดาต” ที่เป็นสระน้ำแห่งความบริสุทธิ์ บ้างก็กล่าวว่าเป็นสระศักดิ์สิทธิ์แห่งภูเขาหิมาลั

“พีระมิดเกาะแกร์ . . . พีระมิดยักษ์กลางพงไพร”

รูปภาพ
“พีระมิดเกาะแกร์ . . . พีระมิดยักษ์กลางพงไพร”               สถาปัตยกรรมในยุคโบราณนั้นเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ใจสิ่งหนึ่ง เนื่องด้วยความงดงามของโบราณสถาน ลวดลายแปลกตาผสมผสานกับความเชื่อที่สลักบนปราสาท ประติมากรรมชั้นยอด หรือแม้กระทั่งการก่อสร้างที่มีความยากลำบาก แต่ก็ยังสามารถทำได้ออกมาอย่างวิจิตรงดงามไม่เป็นสองรองใครเลยทีเดียว ทำให้โบราณสถานนั้นดูน่าค้นหาเป็นอย่างยิ่ง หนึ่งในสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงจะไม่พ้น ‘ ศิลปะเขมร ’ (ที่มารูปภาพ :  http://www.photoontour9.com/outbound/kohker/06_prasat_thom/thom613.htm) ศิลปะเขมรในสมัยเกาะแกร์ สถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์นั้นเป็นการสร้างปราสาทขนาดใหญ่ให้มีความสูงแบบภูเขา ดังเช่นการสร้างพีระมิดขนาดมหึมากว่า 30 เมตร ‘ เกาะแกร์ ( Koh Ker) ’ คือชื่อสถานที่ตั้งของกลุ่มปราสาทเก่าโบราณ เป็นนครที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ประมาณปี ค.ศ. 921 – 944 เกาะแกร์ถือเป็นเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรขอม รู้จักกันในชื่อ พีระมิดเกาะแกร์ พีระมิดเกาะแกร์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานแต่ละด้านยาวถึง 55 เมตร มีชั้นท