“หน้ากาล . . . สัญลักษณ์แห่งเวลาและการกลืนกิน”

“หน้ากาล . . . สัญลักษณ์แห่งเวลาและการกลืนกิน”


หลายครั้งที่ได้ยลความงามของปราสาทแบบศิลปะเขมร เรามักจะพบภาพสลักบนประตูหลายแห่งเล่าเรื่องราวของเทพเจ้าตามความเชื่อของที่นั้น ๆ หลายร้อยเรื่องตามตำนานความเชื่อเหล่านั้นได้สลักลงบนแผ่นหินอย่างงดงามและประณีต จนแสดงให้เห็นถึงโลกคติแสนวิเศษตามความเชื่อที่เหนือธรรมชาติ ซึ่งหนึ่งในหลายร้อยเรื่องเหล่านั้นนับว่ามีเรื่องน่าสนใจไม่น้อย แต่หากพูดถึงสัญลักษณ์ของเวลาก็คงไม้พ้น “หน้ากาล”


หน้ากาล (Kala) มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์ หรือใบหน้าอสูรที่มีความดุร้าย ตากลมโปน อ้าปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้าง ศีรษะสวมเครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นกระบังหน้า หน้ากาลเป็นสัตว์อสูรในป่าหิมพานต์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู เป็นสัญลักษณ์ของ “เวลา” และ “ความตาย” ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวล จึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง


(ที่มารูปภาพ : https://enthusiastical.wordpress.com/category/banteay-srei/ )


หน้ากาลเป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับหน้าบันบนซุ้มประตูของโบราณสถาน โดยมักจะปรากฏพระศิวะ (ผู้ทำลาย) อยู่ตรงกลางซึ่งนั่งอยู่เหนือหน้ากาล การสร้างหน้ากาลไว้เหนือประตูทางเข้าศาสนสถานนั้นเพื่อเป็นการปกปักรักษาไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาได้ ในภาพสลักหน้ากาลจะมีแค่ส่วนหัวเท่านั้นและกำลังกลืนกินบางอย่างเสมือนผู้ทำลาย และกลืนกินทุกสิ่งที่อยู่ด้านล่าง เปรียบได้ดั่งเวลาที่มีแต่เดินไปข้างหน้า ไม่เคยไหลย้อนกลับสู่อดีต


การเป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลานั้น เมื่อผู้คนได้ยลยินก็คงได้ตระหนักถึงกาลเวลาที่กลืนกินทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่เคยหยุดยั้ง เปรียบเสมือนว่าเวลาเป็นผู้ทำลาย แต่ในบางครั้งเวลาไม่ใช่ผู้ทำลาย อาจจะเป็นใจคนที่เป็นตัวทำลายผู้อื่นนั่นเอง ดังนั้นหน้ากาลก็เป็นดั่งเครื่องเตือนใจในการใช้ชีวิตว่า  ทุกสิ่งก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง แต่กาลเวลาไม่เคยหวนย้อนคืน




ที่มา

ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. หน้ากาล. ค้นหาเมื่อ 20 ตุลาคม 2560 จาก www.sac.or.th/databases/archaeology/terminology/หน้ากาล.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง. โบราณวัตถุชิ้นเด่น: เกียรติมุขหรือหน้ากาล. ค้นหาเมื่อ 8 ตุลาคม 2560 จาก www.finearts.go.th/ramkhamhaengmuseum/index.php/parameters/km/item/เกียรติมุขหรือหน้ากาล.

PETER BULL. (2013). A fine pediment. Search 8 October 2017 from  https://enthusiastical.wordpress.com/category/banteay-srei/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“พีระมิดเกาะแกร์ . . . พีระมิดยักษ์กลางพงไพร”

“ปราสาทนาคพัน กับตำนานม้าวิเศษ”

“ทวารบาล . . . ผู้รักษาประตู”